พระมหาพิชัยมงกุฎ ทองคำลงยาประดับเพชร

พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือสิ่งของอันเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์  ๕ อย่างได้แก่  พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกรชัยพฤกษ์ ฉลองพระบาทเชิงงอน พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี และพระมหาพิชัยมงกุฎ พระมหาพิชัยมงกุฎหรือเครื่องประดับพระเศียรองค์ปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2325 ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์ ประดับเพชร เฉพาะองค์พระมหามงกุฎ ไม่รวมพระกรรเจียกจอน สูง 51 เซนติเมตร ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนจะสูงถึง 66 ซ.ม. มีน้ำหนักถึง 7.3 กิโลกรัม (1,300 กรัม) ที่ยอดพระมหาพิชัยมุงกุฎแต่เดิมเมื่อแรกสร้างนั้นเป็นปลายแหลม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีรับสั่งให้พระราชสมบัติ(การเวก รัตนกุล) เดินทางไปเลือกซื้อเพชรเม็ดงามที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย เพื่อนำมาประดับที่ยอดของพระมหาพิชัยมงกุฎ โดยเพชรเม็ดดังกล่าวมีขนาด 40 กะรัต และได้พระพระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า “พระมหาวิเชียรมณี” ว่ากันว่าการที่การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้ประดับเพชรบนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ ไม่เพียงแต่เพื่อเพิ่มความงดงามและทรงคุณค่าเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สยามรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคมอีกด้วย เนื่องจากชาวตะวันตกมักอ้างเหตุผลว่าสยามและประเทศในภูมิภาคนี้เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน การถูกยึดครองโดยชาติตะวันตกจะช่วยทำให้ประเทศเหล่านี้หลุดพ้นจากความด้อยพัฒนา ดังนั้นการสร้างพระมหาพิชัยมงกุฎที่ทรงคุณค่าจึงเป็นการประกาศศักดาอย่างกนึ่งให้ชาติตะวันตกรับรู้ว่าสยามนั้นเป็นประเทศที่เจริญแล้วมีอารยะ และมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับเป็นพระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ พระมหาพิชัยมงกุฎมีความหมายแสดงถึงยอดพระวิมานของพระอินทร์หรือเทพ ซึ่งการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์แด่พระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตามแบบโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมานับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  ด้วยเป็นเครื่องหมายที่แสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความมีอำนาจ ฐานันดรศักดิ์ ความชอบธรรมในการเป็นพระมหากษัตริย์ และพระราชภาระที่ต้องทรงแบกรับทุกข์สุขของพสกนิกรทั้งประเทศ อันเป็นหน้าที่ที่มิอาจวางลงได้ โดยพระมหากษัตริย์จะทรงเครื่องราชกกุธภัณฑ์เพียงครั้งเดียวในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น และจะไม่ทรงอีกเลยตลอดรัชสมัย หากแต่เจ้าพนักงานจะเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทอดถวายไว้ข้างพระราชบัลลังก์ เมื่อคราวมีพระราชพิธีสำคัญๆ

เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-tom/gold-rate/