นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ในมณฑลเหลียวหนิง ประสบความสำเร็จอีกขั้นเมื่อสามารถเปลี่ยน “แร่ทองแดง” ให้กลายเป็นแร่ชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ “ทองคำ” มากที่สุดได้เป็นครั้งแรก วารสารด้านวิทยาศาสตร์ "Science Advances11” ตีพิมพ์เมื่อวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2018 ที่ผ่านมาถึงวิธีการ เปลี่ยน “ทองแดง” ให้สามารถกลายเป็นวัสดุที่มีความคล้าย “ทองคำ” มากที่สุด ได้เป็นผลสำเร็จ รายงานระบุว่า ศาสตราจารย์ซุนเจียน และทีมวิจัยของเขาที่สถาบันฟิสิกส์เคมีแห่งต้าเหลียน ได้ใช้วีธีการยิงแร่ทองแดงด้วยไอพ่นของก๊าซอาร์กอนร้อนที่มีประจุไฟฟ้า อนุภาคที่แตกตัวเป็นอิออนที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วนั้น จะระเบิดอะตอมทองแดงออกจากเป้าหมาย เมื่ออะตอมเย็นตัวลงและควบแน่นบนพื้นผิวของวัสดุทำให้เกิดชั้นทรายบาง ๆ โดยทรายแต่ละเม็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงไม่กี่นาโนเมตรหรือขนาดเพียงหนึ่งในพันของแบคทีเรียเท่านั้น จากนั้นทีมนักวิจัยนำวัสดุทรายนี้ไปทำปฏิกิริยาและใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนถ่านหินเป็นแอลกอฮอล์ จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมีที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนที่รายงานไม่ได้ระบุในรายละเอียดเนื่องจากเป็นความลับ ผลลัพธ์ของขั้นตอนเหล่านี้คือได้วัสดุที่คล้ายกับทองคำมากที่สุด โดยมีลักษณะความมันวาวและ น้ำหนักที่คล้ายกับทองคำ แต่ยังมีความหนาแน่นและการคงทนความกัดกร่อนเช่นเดียวกับทองแดงซึ่งการค้นพบครั้งนี้จะช่วยลดการใช้โลหะหายากราคาแพงในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมาก ปัจจุบันโลหะมีค่ามีความสำคัญและยังคงเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจสมัยใหม่ เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยทองคำ เงิน และแพลตตินั่มจำนวนมาก ซึ่งทองแดงไม่สามารถทำงานได้เช่นเดียวกับทองคำในงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ เพราะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่า อนุภาคในอะตอมมีประจุลบเป็นต้น แต่ด้วยความที่อิเล็กตรอนเหล่านี้ค่อนข้างเสถียร ดังนั้นทองแดงจึงมีแนวโน้มที่จะตอบสนองได้ง่ายขึ้นเมื่อไปรวมกับสารเคมีอื่น ๆ ซึ่งกระบวนการใช้ทองแดงแทนทองคำนี้ จะช่วยลดต้นทุนการผลิต เป็นหนทางสนับสนุนที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมจีนในอนาคต กระบวนการแปลงทองแดงเป็นทองคำนี้ยังไม่สามารถทดแทนทองคำตามธรรมชาติได้ แต่มี คุณสมบัติในการเหนี่ยวนำที่ดีกว่าทองแดง แต่ก็ยังคงด้อยกว่าทองคำแท้ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆที่ต้องใช้วัสดุทองคำในการผลิตโดยเฉพาะในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี "มันเป็นเหมือนนักรบที่มีเกราะทองคำในสนามรบ ที่สามารถต้านทานการโจมตีของศัตรู" คือบทสรุปที่ทีมนักวิจัยฯจีนได้กล่าวไว้
เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-tom/gold-rate/