วงจรชีวิตของเหมืองทองคำ

การทำเหมืองแร่เป็นเพียงขั้นตอนเดียวในกระบวนการทำเหมืองทองคำที่ใช้เวลายาวนานและซับซ้อน ก่อนที่ทองคำจะถูกสกัดออกมาต้องผานกระบวนการต่างๆมากมายตั้งแต่การสำรวจ พัฒนา การประเมินปริมาณสินแร่ ก่อนที่จะเปิดเหมืองเพื่อขุดทองจนถึงการปิดเหมืองและการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นวงจรชีวิตของเหมืองทองคำ การสำรวจเหมืองทองคำ การสำรวจเหมืองทองเป็นเรื่องที่ท้าทายและซับซ้อน ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในหลายด้าน เช่น ด้านภูมิศาสตร์ ด้ารธรณีวิทยา ด้านเคมี และด้านวิศวกรรมในขณะที่ความเป็นไปได้ที่จะค้นพบแหล่งทรัพยากรจนนำไปสู่การพัฒนาเป็นเหมืองทองนั้นมีน้อยกว่า 0.1%  ขั้นตอนการสำรวจนี้ใช้เวลา 1 - 10 ปี การพัฒนาเหมืองทองคำ การพัฒนาเหมืองทองเป็นขั้นตอนที่สองของกระบวนการทำเหมืองแร่ทองคำ โดยเมื่อพบพื้นที่ๆเหมาะสมแล้ว บริษัทเหมืองแร่จะต้องทำการวางแผนการก่อสร้างเหมือง การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อรองรับความต้องการด้านลอจิสติกส์และสวัสดิการของพนักงาน ทั้งนี้บริษัทเหมืองแร่ต้องได้รับใบอนุญาตให้เข้าดำเนินกิจการก่อนจึงจะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 1 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับสถานที่ การทำเหมืองแร่ทองคำ ขั้นตอนการทำเหมืองแร่ทองคำหมายถึงอายุการใช้งานของเหมืองซึ่งในระหว่างนั้นแร่จะถูกสกัดและแปรรูปเป็นทองคำโดยทั่วไปจะมีทองคำ 60-90% เหมืองแต่ละแห่งจะมีอายุการใช้งาน 10 - 30 ปี การปลดประจำการเหมืองแร่ทองคำ หลังจากที่เหมืองหยุดการดำเนินงานอาจเป็นเพราะแร่หมดหรือเหลือแร่ในปริมาณน้อยมากไม่คุ้มค่าการลงทุนต่อไป บริษัทเหมืองแร่ต้องทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่ และทำการฟื้นฟูพื้นที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีอีกครั้ง และเพื่อทำให้แน่ในว่าจะไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นตามมาในระยะยาว ซึ่งในการฟื้นฟูนี้จะต้องใช้เวลานาน 1 - 5 ปีหลังการปิดเหมืองเพราะเป็นงานที่ซับซ้อนและต้องใช้เวลา

เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-tom/gold-rate/