ปิดตำนานเหมืองทองคำในเมืองไทย มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่าประเทศไทยมีการทำเหมืองแร่มาตั้งแต่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของรัชกาลที่ 4แต่เป็นการทำเหมืองดีบุกแทบทั้งหมด จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ 2544 ได้มีการตราพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ ร.ศ.120 ขึ้นซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองการใช้ทรัพยากร หรือ การทำเหมืองแร่ โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากทางหลวงเสียก่อน รวมไปถึงกำหนดหลักเกณฑ์การทำเหมือง และ มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด ครอบคลุมการทำเหมืองแร่ทุกชนิดทั้ง ดีบุก ถ่านหิน ทรายแก้ว สังกะสี หิน และเหมืองแร่ทองคำ ประเทศไทยมีแหล่งเหมืองแร่อยู่ 9 บริเวณ ได้แก่ พื้นที่จังหวัดเลย จนไปถึง จังหวัดหนองคาย โดยบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ดำเนินการเหมืองแร่ทองคำ เงิน และทองแดง บริษัท พรหมมังกร จำกัด ต.จอมศรี อ.เชียงคาน จ.เลย ทำเหมืองเหล็ก พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ไปจนถึงจังหวัดสระแก้ว บริษัท ผ.เพิ่มพูน จำกัด ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีทำเหมืองหินปูน และบริษัท พี.ที.เอ.คอนสตรัคชั่น จำกัด ต.ไทยอุดม อ.คลองหาด จ.สระแก้ว ทำเหมืองหิน พื้นที่จังหวัดแพร่ จนไปถึงจังหวัดลำปาง ทำเหมืองถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อเหมืองแม่เมาะ พื้นที่จังหวัดเชียงรายโดยบริษัท ภาคยภูมิเชียงราย จำกัด บริษัท เชียงราย เอส.เอส.พี. จำกัด และบริษัท เชียงรายแลนด์แอสโซซิเอทส์ จำกัด ทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จนไปถึง จังหวัดชลบุรี และ จันทบุรี โดยบริษัทสมพงษ์ไมน์นิ่ง ทำเหมืองดีบุกและเหมืองทองคำ พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนไปถึง จังหวัดชุมพร โดยบริษัท เทพาพร จำกัด ทำเหมืองทรายแก้ว พื้นที่จังหวัดเลย โดยบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลยทำเหมืองทองคำ เงิน และทองแดง พื้นที่จังหวัดนราธิวาส จนไปถึง จังหวัดยะลา โดยบริษัทเหมืองแร่ปิ่นเยาะและถ้ำทะลุ ทำเหมืองดีบุก และบริษัทชลสิน ทำเหมืองทองคำ พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยเหมืองแร่พลอยไพลินทำเหมืองพลอย พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จนไปถึง จังหวัดลพบุรี ทำเหมืองแร่ทองคำโดยบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด อย่างไรก็ตามเมื่อหลายปีก่อนเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทย เริ่มทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากสารพิษระหว่างการทำงานของเหมืองส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบเหมือง ทำให้รัฐบาลต้องสั่งปิดเหมืองลงเรื่อยๆ และเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งระงับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2560 ทำให้ตำนานเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยต้องปิดลงอย่างถาวร เมื่อบริษัทบริษัทอัคราฯ ซึ่งทำเหมืองแร่ทองคำรายสุดท้ายของไทยพื้นที่ 3,000 ไร่ที่จังหวัดพิจิตรต้องยุติการดำเนินงานในวันที่ 31 ธ.ค. 2559 ปิดตำนานเหมืองทองคำในเมืองไทยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา