การกำหนดราคาทองคำขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย หนึ่งในนั้นคือต้นทุนหน้าเหมือง ซึ่งคิดคำนวณตามมาตรฐานหรือหน่วยงานที่เรียกว่า The Gold Institute Production Cost Standard โดนต้นทุนที่ใช้อยู่มีสองประเภทนั้น คือ ต้นทุนแบบ Cash Cost และแบบ All in sustaining cost ต้นทุน Cash Cost คือต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทองคำโดยตรง บวกกับค่าสัมปทานเหมือง และหักด้วยต้นทุนการผลิตโลหะอื่น ในกรณีที่เหมืองนั้นๆ มีการผลิตโลหะอื่นนอกเหนือจากทองคำ (เรียกว่า By-product credit) หรือสามารถเขียนเป็นสมการง่ายๆ ได้ว่าคือกระบวนการอะไรที่นำมาเพื่อให้ได้ทอง ทั้งค่าขุดเหมือง ค่าหลอมทอง หล่อทอง ต้นทุนการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งต้นทุน Cash Cost นี้มีข้อจำกัด อยู่ที่ไม่ได้นำต้นทุนนอกเหมืองเช่น ต้นทุนสำนักงาน ต้นทุนการพัฒนาหรือต้นทุนธุรการ เข้ามารวมด้วย ต้นทุนแบบ All in sustaining cost (AISC) เป็นการคิดต้นทุนเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของต้นทุน แบบ Cash Cost ที่ โดยต้นทุนแบบ AISC นี้ได้บวกค่าเสื่อมราคาต้นทุนสำนักงาน ต้นทุนการสำรวจ และต้นทุนธุรการ (G&A Expense) เข้าไป เพื่อให้สะท้อนต้นทุนของเหมืองทองคำนั้นๆ ได้อย่างรอบด้าน พูดง่ายๆว่าต้นทุนแบบ All in sustaining cost ก็คือต้นทุน Cash Cost บวกด้วยค่าเสื่อมราคา และตัดจำหน่าย ต้นทุนสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ ต้นทุนธุรการ (G&A Expense)” นั่นเอง ทั้งนี้ราคาหน้าเหมืองจะขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตทองคำที่ได้ ยิ่งได้เยอะเท่าไหร่ราคาก็จะยิ่งต่ำลง โดยราคาเฉลี่ยทั้ง 5 เหมืองใหญ่ๆของโลกแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ 900-1050 เหรียญ/ออนซ์ ซึ่งถ้าคิดเป็นราคาทองคำแท่งบ้านเราก็อยู่ที่บาทล่ะ 16,000-17,000 บาท โดยราคาหน้าเหมืองใหญ่ๆของโลกมีดังนี้ 1.Newmont ปี2017 สามารถผลิตทองคำได้ 49.3 ตัน ราคาหน้าเหมือง AISC ปี 2018 อยู่ที่ 965-1025 เหรียญ/ออนซ์ 2.Barrick Gold Crop ปี2017 สามารถผลิตทองคำได้ 71.9 ตัน ถ้าเทียบแล้วก็ปริมาณเท่ากับครึ่งหนึ่งของทองคำสำรองของประเทศไทยที่ประมาณ 154 ตัน ซึ่งเป็นเหมืองที่ผลิตทองได้เยอะสุด ราคาหน้าเหมือง AISC ปี 2018 อยู่ที่ 765-815 เหรียญ/ออนซ์ 3.Kinross ปี2017 สามารถผลิตทองคำได้ 27.6 ตันราคาหน้าเหมือง AISC ปี 2018 อยู่ที่ 975-1075 เหรียญ/ออนซ์ 4.AngloGold Ashanti ปี2017 สามารถผลิตทองคำได้ 35.79 ตันราคาหน้าเหมือง AISC ปี 2018 อยู่ที่ 1029-1060เหรียญ/ออนซ์ 5.Gold Fields ปี2017 สามารถผลิตทองคำได้ 21.5 ตันราคาหน้าเหมือง AISC ปี 2018 อยู่ที่ 965-1169 เหรียญ/ออนซ์ จากข้อมูลของสภาทองคำโลกรายงานว่าในปี 2017 การผลิตทองคำทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 105 ล้านออนซ์ ขณะที่ข้อมูลข้อมูลจากบริษัทในเครือของ MININGom พบว่าปริมาณการผลิตทองคำจากเหมืองทองที่ใหญ่ที่สุด 10 เหมืองซึ่งเป็นบริษัทมหาชนและไม่ได้เป็นเจ้าของโดยรัฐในปี 2017 อยู่ที่ระดับ 29.43 ล้านออนซ์ซึ่งลดลง 0.1% จากปี 2016 โดยมีสัดส่วนเกือบ 30% ของปริมาณการผลิตทองคำทั่วโลก