หน้ากากทองคำ

เมื่อไม่นานมานี้เราได้ยินข่าวว่ารัฐบาลเยอมันได้ส่งคืนหน้ากากทองคำสมัยศตวรรษที่ 8 คืนแก่ชาวเปรูหลังจากรัฐบาลเปรูใช้ความพยายามกว่า 20 ปีผ่านทางช่องทางการทูตและกฎหมาย ในการทวงสมบัติของชาติชิ้นนี้กลับคืน ซึ่งในที่สุดหน้ากากทองคำเก่าแก่นี้ก็ได้เดินทางกลับบ้าน ย้อนกลับไปเมื่อปี พ. ศ. 2538 รัฐบาลเปรูได้เปิดเผยว่าหน้ากากทองคำได้หายไป หลังจากนั้นอินเตอร์โพลได้ยึดหน้ากากทองคำไว้ได้จากพ่อค้าขายผลงานศิลปะชาวตุรกีคนหนึ่งในเมืองทางด้านตะวันตกของเยอรมนีเมื่อปี 2542 ซึ่งถูกจับกุมข้อหารับซื้อของโจร หน้ากากทองคำนี้เป็นของวัฒนธรรม ซีแคน (Xikan) ทางชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของเปรูซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 8-14 เป็นหน้ากากในงานศพของขุนนางในสังคม Xikan ในข่าวไม่มีการให้รายละเอียดว่าการสวมหน้าการทองคำนั้นนอกจากแสดงฐานะทางสังคมแล้วยังมีนัยยะอื่นๆแฝงไว้ด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ข่าวนี้ก็ทำให้เราเห็นว่าวัฒนธรรมการสวมหน้ากากทองคำให้กับผู้เสียชีวิตที่อยู่ในชนชั้นสูง หรือชนชั้นปกครองมีมานานนับพันปีแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรมใดหรืออยู่มุมไหนของโลก ตั้งแต่การค้นพบหน้ากากทองคำของตุตันคาเมน ฟาโรห์แห่งอียิปต์ มาจนถึงการสวมหน้ากากทองคำในพระราชพิธีพระบรมศพของไทย การขุดพบสุสานตุตันคาเมน ทำให้ชาวโลกต้องตกตะลึงเพราะเป็นการขุดพบกรุสมบัติที่มีจำนวนมากมายมหาศาลกว่า 5,2000 รายการ รวมถึงการพบ “หน้ากากทองคำและโลงศพทองคำ”ด้วย นั่นทำให้สุสานตุตันคาเมนกลายเป็นสุสานที่โดงดังที่สุดในหุบเขากษัตริย์แห่งอียิปต์ หน้ากากทองคำที่พบตีให้เข้ากับรูปหน้าของของกษัตริย์หนุ่มมีหนักประมาณ 14 กิโลกรัม ขณะพบยังคงเปล่งประกายแวววาวมาตลอดกว่า 3 พันปี บนพระนลาฏ(หน้าผาก)มีรูปงูเห่าและนกแร้ง ตกแต่งด้วยเพชรพลอยและอัญมณีมีค่าต่าง  มัมมี่ของฟาโรห์ตุตันคาเมนนอนสงบนิ่งอยู่ในโลงพระศพไม้ฉาบทองคำฝังด้วยอัญมณีและแก้วหลากสี ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่สามารถยืนยันความเชื่อได้อย่างแน่ชัดว่าโลงทองคำจะมีส่วนในการช่วยรักษาสภาพศพให้อยู่สมบูรณ์ได้หรือไม่ แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าศพมัมมี่ที่ค้นพบล้านบรรจุอยู่ในโลงทองคำทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทย ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ ระบุว่าตามโบราณราชประเพณี  ในการพระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ชั้นสูงนั้น เมื่อมีการสวรรคต หรือสิ้นพระชนม์ลง ก็จะมีการพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ ถวายเครื่องขาวทรงพระบรมศพ และถวายเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ คือ เครื่องทรงพระบรมศพเต็มยศพระมหากษัตริย์ หรือ พระอัครมเหสี จากนั้นเจ้าพนักงานจะถวายพระสาง(หวี) แก่องค์ประธานเพื่อทรงหวีพระเกศาพระบรมศพขึ้นหนึ่งครั้ง ลงหนึ่งครั้ง และขึ้นอีกหนึ่งครั้ง จากนั้นทรงหักพระสางวางที่พานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่  วางแผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติพระบรมศพ เพื่อไม่ให้เห็นพระพักตร์หากพระบรมศพมีสภาพที่มิบังควรเห็น ซึ่งพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ก็รับการถวายแผ่นพระพักตร์นี้ปิดที่พระพักตร์ตามโบราณราชประเพณีทุกประการ

เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-tom/gold-rate/